วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การวิ่ง 
        การวิ่ง คือการเคลื่อนที่บนพื้นดินของมนุษย์หรือสัตว์ที่ใช้เท้าเคลื่อนที่อย่างฉับไว ยังมีความหมายถึงกีฬาของมนุษย์ ที่เป็นการเคลื่อนที่มีความเร็วในจุดที่ทั้ง 2 เท้าอยู่เหนือพื้นในขณะเดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากการเดินตรงที่เท้าหนึ่งจะต้องสัมผัสพื้น การวิ่งยังมีความเร็วที่แตกต่างกัน จากการจ็อกกิง ไปจนถึงการวิ่งระยะสั้น
        การวิ่งของมนุษย์พัฒนามาราว 4.5 ล้านปีก่อน เพื่อให้มนุษย์สามารถที่จะล่าสัตว์ได้ การแข่งขันวิ่งมีขึ้นมาในงานด้านศาสนาในหลายพื้นที่ การแข่งขันวิ่งที่มีการบันทึกมาคือ Tailteann Games ที่ไอร์แลนด์ 1829 ก่อนคริสตกาล ขณะที่การแข่งขันโอลิมปิกโบราณครั้งแรกเกิดขึ้น 776 ปีก่อนคริสตกาล

ท่าทางการวิ่ง

1. ในการวิ่งให้โน้มตัวไปข้างหน้าอย่างน้อย 20 องศา จากเส้นตั้งฉากในการวิ่งเต็มฝีเท้า
2. ศีรษะตั้งตรงทำมุมพอสบายตามองไปข้างหน้า 15 ฟุต ตามทางวิ่ง
3. เท้าก้าวไปข้างหน้าตรง ไม่วิ่งส่ายไปมา
4. ไหล่คงที่ แขนแกว่งจากหัวไหล่ เน้นการกระตุกข้อศอกไปข้างหลังในการเหวี่ยงแขน ไม่ตัดลำตัว
5. มือกำหลวม ๆหรือแบมือก็ได้
6. ช่วงก้าวเท้ายาวเต็มที่ น้ำหนักอยู่บนเท้าที่สัมผัสพื้น
7. การวิ่งทางโค้ง ต้องเอนตัวเข้าด้านในของลู่เล็กน้อย แขนซ้ายแกว่งเป็นวงแคบ แขนขวาแกว่งแรงเป็นวงกว้างปลายแขนเหวี่ยงตัดเฉียงลำตัวเข้าหาสนาม ปลายเท้าพยายามจดพื้นเป็นเส้นขนานไปกับทิศทางการวิ่ง
8. ในการวิ่งระยะสั้นต้องใช้ความเร็ว ยกเข่าสูงกว่าการวิ่งระยะกลางและระยะไกล




สิ่งที่ควรทำ

 
1.ตั้งคอให้ตรง มองตรงไปยังพื้นด้านหน้า ในระยะประมาณ 10-30 เมตร พยายามให้กล้ามเนื้อคอ และขากรรไกรผ่อนคลายให้มากที่สุดขณะวิ่ง
2.รักษาระดับการวิ่งให้เป็นไปด้วยความผ่อนคลายมากที่สุด อย่าเกร็งมือที่กำขณะวิ่ง ให้หน้าอกผ่อนคลายและอยู่ในท่าตรงไปเบื้องหน้า
3.วิ่งในท่าที่ทำให้ขาก้าวยาวๆ เคลื่อนที่ไปข้างลำตัวมากที่สุด ไม่ใช่ยกขาสูงในแนวตั้งมากเกินไป
4.ควรวิ่งโดยลงน้ำหนักที่ส้นเท้า การวิ่งโดยลงน้ำหนักที่ปลายเท้านานๆ จะทำให้เกิดแรงกระชากพังผืดฝ่าเท้า ปวดกล้ามเนื้อน่อง และยังเกิดแนวแรงที่ผิดปกติที่ผ่านข้อเข่า ทำให้อาจเกิดการปวดเข่าด้านหน้าได้ การวิ่งลงน้ำหนักที่ปลายเท้าจะทำได้ในกรณีที่เร่งความเร็ว หรือสำหรับนักกีฬาที่มีความฟิตเพียงพอ

สิ่งที่ไม่ควรทำ

1.เคลื่อนไหวศีรษะและกล้ามเนื้อคอไปมามากเกินไปขณะวิ่ง
2.เกร็งข้อมือหรือมือเวลาวิ่ง
3.โค้งหรือเกร็งหัวไหล่ทั้งสองข้างเข้าหาลำตัวขณะวิ่ง เพราะจะทำให้ปวดไหล่ได้
4.วิ่งโดยยกหัวเข่าสูงเกินไป อาจทำให้เมื่อยเร็วขึ้น
5.เกร็งหัวแม่เท้าที่อยู่ในรองเท้าขณะวิ่ง เพราะอาจเป็นตะคริวได้ง่าย

การออกกำลังกายโดยการวิ่ง

      ประโยชน์ของการวิ่งเหมือนกับการเดินซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพกาย หัวใจ กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดความเครียด และยังมีผลป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ การวิ่งสามารถทำได้คนเดียว ทำได้ทุกแห่งแต่จะต้องมีการฝึกฝน       การวิ่งจะเผาผลาญพลังงานมากกว่าการเดินประมาณว่าคนที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมจะใช้พลังงานไป 12.5 กิโลแคลอรีทุกหนึ่งนาทีที่วิ่ง คนที่นำหนักมากจะใช้พลังงานในการวิ่งมากกว่าน้ำหนักน้อย

ประโยชน์ของการวิ่ง

      ประโยชน์ของการวิ่งจะเหมือนกับการเดินออกกำลังกาย แต่ข้อดีของการออกกำลังกายคือใช้เวลาน้อยกว่าการวิ่งและมีผลดีต่อหัวใจมากกว่าการเดิน ข้อเสียของการวิ่งเมื่อเทียบกับการเดินคือมีอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อได้บ่อยกว่าการเดิน
การเริ่มต้นการวิ่ง
      ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าหากคุณคิดจะออกกำลังกายโดยการวิ่งไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าใดให้ปรึกษาแพทย์ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีทีมีอาการดังต่อไปนี้ หลังแพทย์ประเมินสภาพว่าสามารถวิ่งออกกำลังกายได้ ท่านอาจจะเริ่มต้นโดยการเดินให้มาก ทำงานบ้าน ใช้บันไดแทนการขึ้นบันไดเลื่อนหลังจากนั้นจึงเริ่มต้นการออกกำลังกายโดยการเดิน


3 เคล็ดลับในการวิ่งเพื่อลดน้ำหนัก สำหรับผู้เริ่มต้น

664


      การวิ่งเพื่อลดน้ำหนักจัดเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัด จึงเป็นวิธีที่หลายคนค่อยข้างนิยมกัน เพียงแต่สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักค่อนข้างมากหรือคนที่แทบไม่ได้ออกกำลังเลย การวิ่งอาจจะค่อนข้างมีปัญหาเพราะร่างกายไม่เคยชินทำให้วิ่งได้ไม่นานนักก็เหนื่อย นอกจากนั้น การวิ่งที่ไม่ถูกหลักอย่างการฝืนวิ่งเยอะๆ เพื่อหวังลดน้ำหนักให้ได้เร็วๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บและปัญหาสุขภาพอย่างอื่นตามมาได้ด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่น้ำหนักเกินมากๆ จะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้หรอกนะคะ เพราะจริงๆ แล้ว การวิ่งออกกำลังเป็นวิธีลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพียงแต่ต้องวิ่งให้ถูกวิธีเท่านั้นเองค่ะ วันนี้ GoodlyWomen จึงขอเสนอเทคนิคการวิ่งเพื่อออกกำลังสำหรับผู้เริ่มต้น เป็นเทคนิค “เดินสลับวิ่ง” หรือ W-R-W นั่นเองค่ะ


1. เริ่มจากเดินก่อน
       ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ลองเริ่มด้วยการวิ่ง 3 ถึง 5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 25 – 30 นาที ในสัปดาห์ถัดมาก็ค่อยแทรกการวิ่งเข้าไป 30 – 45 วินาทีในการเดินออกกำลังแต่ละครั้ง ใช้การเดินสลับวิ่ง และค่อยๆ เพิ่มเวลาในการวิ่งขึ้นมาในแต่ละครั้งโดยที่คุมเวลาไม่ให้เราเองต้องเหนื่อยหอบ ทำอย่างนี้ไปสัก 4 – 5 สัปดาห์ ร่างกายคุณจะแข็งแรงขึ้น และสามารถวิ่งได้ 30 นาทีโดยไม่หอบแฮ่กแล้วล่ะค่ะ

2.เช็คอัตราการเต้นของหัวใจ
       การเช็คชีพจรของตัวเองเป็นประจำทุกวัน (ทุกวันนะคะ ไม่ใช่ว่าทำเฉพาะวันที่วิ่งเท่านั้น) เป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถป้องการอาการบาดเจ็บจากการวิ่งได้ ผู้วิ่งหลายๆ คนอาจจะรู้สึกเป็นกังวลกับน้ำหนักของตัวเองมากจนลืมเรื่องนี้ไป และก็อาจจะฝืนตัวเองจนเกิดอาการบาดเจ็บในที่สุด
วิธีบ่งบอกว่าคุณกำลังผลักดันตัวเองเกินกว่าที่จะร่างกายจะรับไหวรึเปล่า (มีคำเรียกว่า overtraining syndrome ซึ่งก็คือ การเร่งออกกำลังกายหนักๆ ในขณะที่ร่างกายยังไม่พร้อม) ดูได้ด้วยการวัดชีพจรเป็นประจำทุกวัน หากวัดแล้วพบว่า ชีพจรของเราเต้นมากกว่าปกติ 5 – 10 ครั้งต่อนาที (อย่างเช่น จากที่เคย 72 ครั้ง/นาที กลายเป็น 85 ครั้ง/นาที) นั่นก็หมายความว่าคุณกำลังผลักดันตัวเองมากเกินไปแล้ว ต้องเพลาๆ ลงบ้างแล้วล่ะค่ะ
นอกจากจะเช็คอาการบาดเจ็บแล้ว การวัดชีพจรยังสามารถบ่งบอกได้ด้วยว่าการออกกำลังของคุณไปได้สวยรึเปล่า เนื่องจากถ้าคุณวิ่งจนร่างกายแข็งแรงขึ้น หัวใจของคุณก็จะสามารถสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น หมายความว่าจังหวะการเต้นของหัวใจจะช้าลง แต่แข็งแรงขึ้น (ไม่จำเป็นต้องสูบฉีดบ่อย) ดังนั้นผู้ที่หัดวิ่งก็อย่าลืมเช็คชีพจรของตัวเองกันด้วยนะคะ


3. ใช้เวลาฟื้นฟูร่างกายให้เพียงพอ
       การพักฟื้นร่างกายนั้นมีความสำคัญเท่าเทียมกับการบริหารร่างกายเลยล่ะค่ะ เพราะถ้าหากคุณไม่ให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็เป็นที่แน่นอนว่าคุณจะต้องพบเจอกับความเหนื่อยล้า ประสิทธิภาพการออกกำลังที่ลดลง และพลอยจะท้อเอาได้ง่ายๆ จนในที่สุดคุณก็อาจพบเจอกับอาการบาดเจ็บ มีผู้วิ่งหลายๆ คนเคยฝ่าฝืนกฎเหล็กข้อนี้แล้วก็ต้องมาเสียใจภายหลังกันนักต่อนัก
โปรแกรมที่แนะนำก็คือ ใช้การวิ่งวันเว้นวัน โดยวันที่ไม่ได้วิ่งก็เปลี่ยนไปออกกำลังกายเบาๆ เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้ออย่างเช่นยกเวท หรือจะเป็นการทำโยคะเพื่อกระชับสัดส่วนก็ได้ ส่วนคนที่อยากลดน้ำหนักแบบจัดเต็มด้วยการบริหารร่างกายทุกวัน ก็ควรจะให้มีอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ที่เป็นวันพักผ่อนอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานหนักเกินไปค่ะ
ข้อแนะนำ : ก่อนและหลังการวิ่งทุกครั้ง ก็อย่าลืมยืดหยุ่นร่างกายด้วยนะคะ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บค่ะ

 
การวิ่งระยะสั้น

      เป็นการวิ่งแข่งขันระยะทาง ตั้งแต่ 50 เมตร 60 เมตร 80 เมตร 100 เมตร 200 เมตร จนถึง 400 เมตรทักษะที่สำคัญของการวิ่งระยะสั้น คือ การตั้งต้นการวิ่ง การวิ่ง และการเข้าเส้นชัย ที่ยันเท้าเป็นอุปกรณ์สำคัญของนักกรีฑาวิ่งระยะสั้น เริ่มมีการใช้มาตั้งแต่เริ่มมีการใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2470 เพราะทำให้สะดวกและเป็นผลดีต่อการวิ่ง สามารถปรับได้ระดับกับนักกรีฑาแต่ละคนและไม่ทำให้สนามเสีย การออมกำลังในการวิ่งก็เป็นสิ่งจำเป็นของนักกรีฑาวิ่งในระยะตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป เพราะนักวิ่งไม่สามารถวิ่งได้เร็วสม่ำเสมอตลอดระยะทาง เพราะขีดความสามารถและความเหนื่อยเป็นอุปสรรค จึงต้องซ้อมรักษาความเร็วในช่วงกลางของระยะวิ่งให้คงที่ โดยใช้พลังงานน้อยที่สุดและไปเร่งเมื่อใกล้ถึงเส้นชัยอีกครั้งนักกีฬาต้องรู้และมีประสบการณ์ด้วยตนเองว่าควรหายใจด้วยวิธีใดจึงจะให้เกิดผลดีที่สุด และมีอากาศเพียงพอตลอดระยะทางการวิ่ง นักกรีฑาต้องวิ่งในช่องวิ่งเฉพาะตัวตลอดระยะทาง

       คุณสมบัติของนักกรีฑาวิ่งระยะสั้น กล้ามเนื้อขาแข็งแรง มีความเร็วในการเคลื่อนที่ มีความสามารถในการก้าวเท้าได้ยาวและเร็ว
       ในการตั้งต้นการวิ่ง การเคลื่อนตัวหรือเคลื่อนมือหรือเท้าก่อนที่สัญญาณปล่อยตัวดังขึ้นจะถือเป็นการผิดกติกา จะถูกเตือนหากทำผิดครั้งที่ 2 จะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน

 


การวิ่งระยะกลาง 

       เป็นการวิ่งระยะ 8 00 เมตร และ 1,500 เมตร การวิ่งระยะกลาง ต้องอาศัยฝีเท้าการวิ่งแบบระยะสั้น ใช้ความเร็วและความทนทานแบบการวิ่งระยะไกล นักกีฬาวิ่งระยะสั้นจึงสามารถเปลี่ยนมาวิ่งระยะกลางได้ไม่ยาก เพียงแต่ฝึกความทนทานให้มากขึ้นและเช่นเดียวกัน นักกีฬาวิ่งระยะไกลก็สามารถเปลี่ยนมาวิ่งระยะกลางได้ โดยฝึกความเร็วเพิ่มขึ้นเท่านั้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด คือ นักกีฬาระยะกลางต้องรู้ว่าตนเอง ต้องใช้กำลังอย่างไรตลอดระยะทางการวิ่ง จังหวะการก้าวขา ความสัมพันธ์ของการแกว่งแขนและการก้าวเท้า รู้จักผ่อนกำลังเมื่อวิ่งเลย 400 เมตรในการวิ่ง 800 เมตร เมื่อวิ่งไปได้ 20-25 % ของระยะทางทั้งหมดให้เริ่มวิ่งเต็มฝีเท้าจนถึงเส้นชัย การวิ่งขึ้นหน้าคู่ต่อสู้ให้วิ่งขึ้นทางขวาของคู่แข่งและอย่าให้ถูกคุมจากนักกีฬาคนอื่นจนวิ่งขึ้นหน้าไม่ได้ ไม่จำเป็นอย่าเร่งขึ้นหน้าตรงทางโค้ง ให้รู้ความสามารถของตนเองไม่ควรวิ่งเร็วไปพร้อมกับนักกีฬาคนอื่น ๆ และไม่ควรปล่อยให้คู่แข่งนำหน้าเกิน 12-15 เมตร ในการวิ่ง 800 เมตร จังหวะการก้าวเท้าจะช้าและสั้นกว่าการวิ่งระยะสั้น การเริ่มต้นออกวิ่งใช้ลักษณะการยืนเป็นท่าเริ่มต้น เมื่อนักกรีฑาได้ยินคำว่า “ เข้าที่ ” ให้ยืน เท้าใดเท้าหนึ่งอยู่หลังเส้นเริ่ม เท้าหลังอยู่ห่างพอประมาณ โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย หรืออาจใช้ ตั้งต้นการวิ่งเหมือนกับการวิ่งระยะสั้นก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ที่ยันเท้า นักกรีฑาวิ่ง 1,500 เมตรจะ ยืนตามเส้นโค้งแรกเป็นเส้นเริ่ม สำหรับการแข่งขัน 800 เมตร นักกรีฑาต้องวิ่งในช่องวิ่งของตนเองนับตั้งแต่เริ่มต้นจนครบระยะ 100 เมตร หรือ วิ่งสุดทางโค้งแล้วสามารถวิ่งตัดเข้าไปวิ่งในช่องที่ 1 ได้ ส่วนการวิ่ง 1,500 เมตร นักกรีฑาสามารถวิ่งตัดเข้าไปวิ่งในช่องวิ่งด้านใน ได้ทันทีที่ได้ยินสัญญาณปล่อยตัว




การวิ่งระยะไกล 

       เป็นการวิ่งระยะทางตั้งแต่ 3,000 เมตรขึ้นไป ลักษณะของนักกีฬาวิ่งระยะไกล มีรูปร่างค่อนข้างสูง น้ำหนักปานกลาง กล้ามเนื้อหัวใจมีความแข็งแรง สิ่งสำคัญในการวิ่งระยะไกลคือ จังหวะในการวิ่ง จังหวะในการก้าวขา และการแกว่งแขน ที่จะใช้กำลังให้น้อยที่สุด การก้าววิ่งเต็ม ฝีเท้าช่วงก้าวยาวสม่ำเสมอรักษาช่วงก้าว ให้เท้าสัมผัสพื้นในลักษณะลงด้วยส้นเท้าผ่อนลงสู่ปลายเท้า ลำตัวตั้งมากกว่าการวิ่งระยะอื่น ไม่ปล่อยให้คู่แข่งวิ่งนำหน้ามากกว่า 40-50 เมตร ในการวิ่ง 3,000 เมตร

      การออกวิ่งของการวิ่งระยะไกลใช้การยืนที่เส้นเริ่ม ให้เท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ชิดหลังเส้นเริ่ม ก้มตัวลงเล็กน้อยพร้อมที่จะออกวิ่งทันทีที่ได้ยินสัญญาณปล่อยตัวการออมกำลังในการวิ่งระยะไกล นักกรีฑาต้องรู้จักวางแผนแบ่งระยะทางวิ่ง การเปลี่ยนความยาวของช่วงก้าว การเปลี่ยนจังหวะหายใจ เพื่อให้สามารถวิ่งได้ตลอดระยะทางและทำเวลา ให้ดีที่สุด การเข้าเส้นชัย นิยมวิ่งผ่านแถบเส้นชัยโน้มตัวลงไปข้างหน้าเล็กน้อย


Asian Games 2010 - ไทยได้เหรียญทองวิ่งผลัดหญิง

Improving Sprint Start Technique

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของการวิ่ง ออกกำลังกาย

   1. ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือด ปอด หัวใจทำงานดีขึ้น ลดระดับไขมันในเลือด เพื่อป้องกันโรคหัวใจ    ความดันโลหิตสูง และช่วยให้ไม่เป็นลมหน้ามืดง่าย
   2. ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ลดภาวะกระดูกพรุน
   3. ช่วยปรับภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น
   4. ช่วยควบคุมน้ำหนักของร่างกาย
   5. กระตุ้นให้สมองเกิดการหลั่งสารเอ็นโดฟินส์ขึ้น ซึ่งเป็นสารเคมีธรรมชาติที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด และทำให้รู้สึกสุขสบาย

6 ข้อดีของการวิ่ง : ออกกำลังการ

1. วิ่ง 20 นาทีเผาผลาญได้ 293 แคลอรี่ (วิ่งด้วยฝีเท้า 8 นาทีต่อไมล์)
2. ช่วยให้กล้ามเนื้อขาอ่อน สะโพก ข้อเท้าและก้นกระชับ
3. ช่วยปรับปรุงสุขภาพกระดูกได้ดีกว่าการว่ายน้ำ หรือขี่จักรยาน เพาระเป็นการรับน้ำหนัก แรงกระทบที่เพิ่มขึ้นมาทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
4. เผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกอื่นๆ
5. ช่วยปรับปรุงความฟิตของระบบทางเดินโลหิตในร่างกาย
6. ช่วยกระตุ้นอารมณ์ให้ดีขึ้น

ทักษะการวิ่ง...เพื่อสุขภาพ

เน้นก้าวเท้าเป็นธรรมชาติ ไม่เกร็ง

  
          เคยมีคนบอกว่า สุขภาพดีส่วนหนึ่งมาจากการออกกำลังกายการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ง่ายและนิยมกันมากคือการวิ่งเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีความแตกต่างกับการวิ่งเพื่อแข่งขัน โดยการวิ่งเพื่อสุขภาพ (จ๊อกกิ้ง) เป็นการวิ่งเหยาะๆ ด้วยความเร็วระหว่างการเดินกับการวิ่งเร็ว การวิ่งที่ได้ผลดีต้องเป็นธรรมชาติ ไม่เกร็ง โดยมีข้อแนะนำเพื่อนำไปปรับใช้ในการวิ่งเพื่อสุขภาพมาฝาก

          1. เทคนิคในการวิ่ง

          การลงเท้าที่ถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บสำหรับนักวิ่งเพื่อสุขภาพ โดยส้นเท้าจะสัมผัสพื้นก่อน ทั้งฝ่าเท้าจึงจะตามลงมา และเมื่อปลายเท้าหมุนลงมาแตะพื้นก็เป็นจังหวะที่ส้นเท้าเปิดขึ้น ปลายเท้าก็จะคล้ายตะกุยดิน ถีบตัวเหมือนสปริงดีดตัวขึ้นบนและเคลื่อนไปข้างหน้า จุดที่เท้าสัมผัสพื้นควรตรงกับหัวเข่า งอเข่านิดๆ เท้าควรจะสัมผัสพื้นหลังจากที่ได้เหยียดออกไปข้างหน้า ส่วนอีกเท้าเหวี่ยงไปข้างหลัง ควรจะลงแตะพื้นเบา

          นักวิ่งส่วนใหญ่จะลงพื้นด้วยริมนอกของเท้าและหมุนเข้าด้านใน ซึ่งการหมุนเข้าด้านในช่วยเป็นเกาะกันกระแทก การลงเท้าและการก้าวเท้าจะช่วยให้วิ่งเร็วขึ้น ส่วนจะก้าวยาวหรือสั้นนั้นขึ้นอยู่กับนักวิ่งว่าต้องการความเร็วแค่ไหน โดยนักวิ่งเร็วจะลงพื้นด้วยปลายเท้าก่อน ส่วนนักวิ่งระยะกลางจะลงพื้นด้วยอุ้งเท้าก่อน และสำหรับนักวิ่งระยะไกลและนักวิ่งเพื่อสุขภาพจะลงด้วยส้นเท้าก่อน

          ท่าทางในการวิ่ง ควรวิ่งให้หลังตรงและเป็นธรรมชาติมากที่สุด ศีรษะตรง ตามองตรงไปข้างหน้า ให้ส่วนต่างๆจากศีรษะลงมาหัวไหล่และสะโพกจนถึงพื้นเป็นเส้นตรง ลำตัวไม่โน้มไปด้านหน้าหรือเอนไปด้านหลัง

          การเคลื่อนไหวของแขนจะช่วยเป็นจังหวะและการทรงตัวในการวิ่ง ขณะวิ่งแขนแกว่งไปมาเหมือนกับลูกตุ้มนาฬิกาไปตามแนวหน้าหลัง พยายามอย่าให้ข้อศอกงอเข้ามาแคบกว่า 90 องศา หัวแม่โป้งวางบนนิ้วชี้สบายๆ กำนิ้วหลวมๆ ข้อมือไม่เกร็ง บางครั้งอาจเหยียดแขนตรงลงมา หรือเขย่าแขนเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวบ้างหลังจากยกแขนไว้นานๆ

          การหายใจควรหายใจเข้าทางจมูกและปล่อยลมหายใจออกพร้อมกันทั้งทางจมูกและปาก อย่างไรก็ดี ให้ยึดกฎง่ายๆ คือ การหายใจควรเป็นไปตามสบาย และพยายามหายใจด้วยท้อง การหายใจด้วยท้องคือ สูดหายใจเข้าไปในปอดจนท้องขยาย และบังคับปล่อยลมให้ออกมาด้วยการแขม่วท้อง การหายใจไม่ถูกวิธีอาจจะทำให้เกิดการจุกเสียดขณะวิ่งได้

          2. ความหนัก ความนาน และความบ่อยของการวิ่ง

          ความหนักหรือความเร็ว ควรใช้ความเร็วที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยจนต้องหายใจแรง แต่ไม่ถึงกับต้องหายใจทางปากหรือมีอาการหอบ เมื่อวิ่งไปแล้ว 4 - 5 นาทีควรมีเหงื่อออก ยกเว้นในอากาศเย็นจัดอาจยังไม่มี แต่สามารถวิ่งต่อไปได้เกิน 10 นาที อาจใช้ความเร็วคงที่ตลอดระยะทาง หรือจะวิ่งเร็วสลับช้าบ้างก็ได้ แต่การวิ่งติดต่อกันโดยไม่หยุดถึง 10 นาทีเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนักสำหรับผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาหรือวิ่งเป็นประจำอยู่ก่อน ฉะนั้นผู้ที่เริ่มวิ่งทุกคนจึงไม่ควรตั้งความหวังสำหรับการวิ่งครั้งแรก ว่าจะวิ่งให้ได้ตลอดมากกว่า 10 นาทีโดยไม่สลับด้วยการเดิน

          ความจริงแล้วการวิ่งสลับกับการเดินยาวๆ โดยไม่หยุดวิ่งในวันแรกๆเป็นสิ่งถูกต้อง เพราะเป็นการผ่อนคลายร่างกาย ไม่ทำให้เกิดความเครียดมากจนเกินไป แต่ในวันต่อๆไปควรเพิ่มระยะเวลาของการวิ่งให้มากขึ้น และลดระยะเวลาของการเดินให้น้อยลง จนในที่สุดสามารถวิ่งเหยาะๆ ได้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 นาทีโดยไม่ต้องสลับด้วยการเดิน และทำเช่นนี้อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ จึงถือได้ว่าเป็นการวิ่งเพื่อสุขภาพ

          3. การอบอุ่นร่างกายก่อนวิ่งและการผ่อนคลายร่างกายหลังวิ่ง

          ก่อนและหลังวิ่งทุกครั้งควรอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลายร่างกายประมาณ 4 - 5 นาที โดยวิ่งเหยาะๆ ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าที่ใช้วิ่งจริง พร้อมทำกายบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วย


คลิปออกกำลังกาย เทคนิคการวิ่ง วิธีการวิ่งออกกำลังกาย ออกกำลังกายวิ่งเพื่อสุขภาพ ให้ถูกวิธีแล้วจะได้ประโยชน์ออกกําลังกาย อย่างสมบูรณ์กับท่าออกกำลังกายง่ายๆ ด้วยตัวคุณเองที่บ้าน  

04_เทคนิคการวิ่ง.avi